วิธีรับมือแอพทวงหนี้ เงินกู้นอกระบบ (รวมไอเดียจาก พันทิป)

ใครที่กู้ยืมเงินมาจากแอปเงินกู้นอกระบบ แล้วอยากรู้วิธีรับมือแอพเหล่านี้ทวงหนี้ มาลองดูวิธีรับมือจากชาวพันทิป เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทยกัน

ในกรณีที่โหลดมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ยืม – ยังไหวตัวทันนะ

สำหรับใครที่โหลดแอปมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ยืม – ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อไหนๆ ก็ตาม หากยังไม่ได้ทำธุรกรรม แนะนำให้รีบลบแอปออกไปให้เร็วที่สุด ก่อนลบควรเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆ ไม่บันทึกชื่อหรือเบอร์โทรของเราไว้ในแอปนั้น โดย วิธีลบแอปเงินกู้นอกระบบออกจากมือถือ Android มีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

  1. ไปที่เมนูตั้งค่า (Setting) รูปเฟืองในมือถือของคุณ
  2. เลือกเมนูแอป (Apps)
  3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ
  4. เลือกถอนการติดตั้ง (Uninstall)
  5. ทางลัดคือกดที่ไอคอนของแอปนั้นค้างไว้ให้ขึ้นเมนูตั้งค่า แล้วเลือกถอนการติดตั้ง (เฉพาะ Android บางรุ่นเท่านั้น)

ในกรณีที่เป็นแอปยืมเงินนอกระบบใน iPhone มีวิธีลบดังนี้:

  1. กดที่ไอคอนของแอปค้างไว้
  2. เลือก ลบแอป (Remove App)
  3. ระบบจะถามยืนยันอีกครั้งให้เลือกถอนการติดตั้ง (Delete App)

เพียงเท่านี้เราก็จะปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลของแอปกู้เงินนอกระบบแล้ว ทั้งนี้ควรเช็คให้ดีว่าตอนที่ดาวน์โหลดแอปมาติดตั้ง เราได้อนุญาตให้แอปเหล่านั้นเข้าถึงข้อมูลในเครื่องของเราไหม ไม่เช่นนั้นมิจฉาชีพอาจสามารถดึงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลอื่น ๆ จากเครื่องเราไปได้

ในกรณีที่ยืมไปแล้ว – ยังไม่สายเกินไป ยังพอมีวิธีรับมือ

สำหรับใครที่ยืมเงินไปแล้ว และอาจวางแผนที่จะ ยืมเงินในแอพแล้วไม่จ่าย คุณสามารถทำได้ โดยเราได้รวบรวมไอเดียรับมือจากชาวพันทิปมาไว้ให้คุณแล้ว

อย่าเพิ่งลบแอปโดยทันที เก็บหลักฐานข้อมูลเอาไว้ก่อนทำการลบ

อย่าเพิ่งตกใจและลบแอปออกจากเครื่อง ให้คุณทำการเก็บหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ แคปหน้าจอเอาไว้ เช่น หลักฐานการทำรายการ หลักฐานการโอนเงิน ข้อมูลต่างๆ ที่ในแอปนั้นเก็บไป แคปเป็นรูปเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ก่อน

ทำการลบแอปนั้น ๆ ออกไปจากเครื่อง

ลบแอปได้ โดยใช้วิธีเดียวกับด้านบนที่เรากล่าวถึงไปแล้ว

แจ้งความที่สถานีตำรวจ

ต้องบอกไว้ก่อนว่า การแจ้งความไม่ได้เป็นการที่ทำให้สามารถดำเนินคดีกับทางผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบได้โดยตรง แต่เป็นการลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แนะนำให้นำหลักฐานต่าง ๆ ที่มี อาจรวมถึงแชทในไลน์กับผู้ปล่อยเงินกู้

หลังจากแจ้งความเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กับ DSI โดยไปที่เว็บไซต์ตามลิงค์นี้ แจ้งเบาะแสคลิก เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่

อาจยังถูกคุกคาม รวมถึงคนรอบข้าง

แม้จะแจ้งความแล้ว หรือลบแอปออกไปแล้ว ให้เตรียมใจไว้ว่า ผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ได้เบอร์โทรของคุณ เบอร์โทรเพื่อนร่วมงาน อาจรวมถึงบัญชีไลน์อื่น ๆ ที่ติดต่อกับคุณไปแล้ว

ฉะนั้นคุณจึงยังสามารถโดนโทรทวงเงิน ข่มขู่คุกคาม อยู่ รวมไปถึงการประจานให้อับอาย เพราะคนรอบข้างก็รับรู้แล้วว่าคุณเป็นหนี้นอกระบบ

ทั้งนี้ให้บอกคนรอบข้างไปตามตรงให้เข้าใจ เพื่อรับรู้ปัญหา การข่มขู่นี้อาจไม่มีการบุกรุกถึงที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หากในกรณีที่เป็นเช่นนั้นแนะนำให้แจ้งตำรวจทันที

จ่ายคืนได้ ยิ่งดี

วิธีรับมือที่ปลอดภัยจากเจ้าหนี้ที่สุดคือจ่ายเงินคืน อย่างน้อยจ่ายเงินต้นคืนไปให้ครบ ก็จะถือว่าเราได้จ่ายคืนไปแล้ว หนี้นอกระบบนั้นผิดกฏหมายอยู่แล้ว ทางเจ้าหนี้เองไม่สามารถเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดได้ อย่างน้อยการจ่ายคืนเงินต้น จะช่วยเป็นหลักฐานให้คุณเคลียร์หนี้สินเรียบร้อยแล้ว

หากจำเป็น เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์มือถือ

ในกรณีที่ยังถูกคุกคาม อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้คือ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์มือถือ, Facebook, LINE ไปเลย เพราะตราบใดที่ยังใช้ข้อมูลเก่า ๆ เหล่านั้นที่เจ้าหนี้เข้าถึงข้อมูลได้ การถูกคุกคามจะยังคงเกิดขึ้น

เมื่อเปลี่ยนเป็นเบอร์ใหม่แล้ว ติดตั้งแอปที่ชื่อว่า WhosCall เอาไว้ เพื่อช่วยเช็คว่าหมายเลขที่โทรมาหาคุณนั้นเป็นใคร หากเป็นแกงค์ทวงหนี้ ในระบบก็จะขึ้นแจ้งเตือนเอาไว้ทันที

*Whoscall รับรู้ได้ว่าเบอร์นั้นเป็นของใคร จากการร่วมกันรายงานของชุมชนที่ใช้งาน Whoscall ด้วยกัน

นี่ก็เป็นไอเดียและวิธีรับมือกับแอพทวงหนี้นอกระบบ ที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ คงไม่หมดไปง่าย ๆ และครั้งหน้าหากคุณมีเรื่องเดือดร้อนใจเพราะเงิน แนะนำให้ เลือกใช้แอป ยืมเงินด่วนโอนเข้าบัญชีที่ถูกกฏหมาย จะดีกว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *