หลายคนอาจสงสัยว่าถ้า ยืมเงินในแอพแล้วไม่จ่าย จะเกิดอะไรขึ้น เราแบ่งเหตุการณ์นี้ได้เป็นสองกรณีคือ ยืมเงินในแอปถูกกฏหมาย กับยืมเงินแอปเงินกู้นอกระบบ แต่ละกรณีจะเกิดอะไรขึ้นบ้างมาดูกัน
มีอะไรบ้างในเรื่องนี้
ยืมเงินในแอพแล้วไม่จ่าย ได้ไหม?
ก่อนจะไปเจาะลึกข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มผู้ให้บริการ หากถามตอบกันตรง ๆ ว่า ยืมเงินในแอพแล้วไม่จ่าย ได้ไหม – ไม่ได้ เพราะมีผลลัพธ์ที่ตามมาคือเราจะเป็นหนี้ และหากอยากกู้ยืมครั้งต่อไป ก็ต้องหาเงินมาจ่ายคืนหนี้ก้อนนี้ก่อน โดยในช่วงระยะเวลาที่ไม่จ่าย จะมีสิ่งที่เรียกว่าดอกเบี้ยที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ และค่าธรรมเนียมในการชำระหนี้ล่าช้า
ซึ่งรวม ๆ แล้ว หากไม่จ่ายในระยะเวลามากกว่า 2 – 3 เดือนขึ้นไป ดอกเบี้ยและค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนทำให้อาจจะหาเงินมาชำระคืนได้ยากขึ้นไปอีก ฉะนั้นไม่ว่าในกรณีไหน การยืมแล้วไม่จ่ายคืนถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำแน่นอน และหากเป็นการยืมเงินในแอปถูกกฏหมาย อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้องจากทางผู้ให้บริการ อาจจะทำให้เสียทั้งเวลา เงิน และทรัพย์สิน
ไม่จ่ายเงินแอปถูกกฏหมายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
หากยืมเงินผ่านแอปถูกกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นแอปยืมเงินโดยตรง หรือสินเชื่อยืมเงินผ่าน Mobile Banking ในเดือนแรกที่ไม่จ่าย จะเริ่มมี SMS และแจ้งเตือนในการทวงถามหนี้ก่อน หลังจากนั้นจะมีการโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งให้ทราบว่าคุณมียอดค้างชำระเท่าไหร่ และควรจ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่ อันนี้เป็นปกติพื้นฐานของระบบทวงหนี้ตามปัจจุบัน
และหากมีการคงค้างหนี้ไว้ถึงเดือนที่สองที่สาม การทวงหนี้ก็ยังจะเกิดขึ้นประมาณนี้ ไม่มีการบุกรุกไปตามที่อยู่ สถานที่ทำงานแต่อย่างใด เพียงแต่เจ้าหน้าที่จะพยายามเจรจาให้คุณชำระเงินขั้นต่ำก่อน ในกรณีที่คุณไม่ชำระ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการยืมเงินแล้วไม่คืน จะเริ่มกลายเป็นหนี้เสีย อาจมีผลทำให้ขอกู้ยืมจากสถาบันการเงินเดิม และสถาบันการเงินอื่นยากขึ้น
เนื่องจากว่าไม่ว่าคุณจะยืมเงินกับที่ไหนก็ตาม ข้อมูลเครดิตการเงินจะถูกนำส่งบันทึกไปยัง สถาบันเครดิตบูโร ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในระบบของคุณเอาไว้ แม้หลาย ๆ ที่อาจจะชี้แจ้งในการโฆษณาว่าไม่เช็คเครดิตบูโร หรือแบล็คลิสต์ ในความเป็นจริงแล้วหากเป็นการกู้ยืมถูกกฏหมายข้อมูลเหล่านี้จะถูกตรวจสอบ
ในกรณีที่มีหนี้จากหลาย ๆ ที่ อาจไม่ใช่ปัญหาที่ทำให้กู้ยืมไม่ผ่าน แต่หากยืมเงินแล้วไม่ชำระคืนตรงเวลาบ่อย ๆ ยิ่งนานเกิน 2 – 3 เดือน ส่วนนี้จะทำให้โอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อครั้งต่อไปยากขึ้น และก็มีคนไทยหลายคนไม่น้อยที่ประสบปัญหานี้
หรือหากปล่อยให้หนี้เสียนานกว่านั้น หรือจงใจผิดนัดชำระหนี้ไปเรื่อย ๆ ปลายทางคือถูกฟ้องคดี และต้องไปไกล่เกลี่ยกันในชั้นศาล ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่แนะนำเลย แล้วจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร?
ทางออก
ในกรณีที่ไม่ไหวจะชำระหนี้จริงๆ ขอให้อย่างน้อยชำระขั้นต่ำตามที่ระบบแจ้งมาให้จ่ายก่อน หรือเจรจาหาทางออกกับเจ้าหนี้ การเจรจาบอกสาเหตุของการผิดนัดชำระอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ในบางครั้งเจ้าหนี้อาจช่วยหาทางออกอีกด้วย
และในระยะยาวควรต้องวางแผนรายรับรายจ่ายอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก การยืมเงินด่วนโอนเข้าบัญชี นั้นได้เงินเข้าบัญชีเร็วและง่ายก็จริง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นช่องทางที่ควรจะมีการวางแผนก่อนกู้ยืมทุกครั้ง
ไม่จ่ายเงินคืนแอปกู้เงินนอกระบบจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
สำหรับเคสนี้อาจจะถือได้ว่ายากขึ้นมาอีก เพราะไม่มีกฏหมายรองรับ และผู้ให้บริการแอปกู้เงินนอกระบบ ก็ไม่ต่างจากเงินกู้นอกระบบทั่วไป ที่ขึ้นชื่อเรื่องของดอกเบี้ยที่โหดหิน และการทวงหนี้ที่ขึ้นชื่อลือชา
เนื่องจากว่าแอปกู้เงินนอกระบบนั้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ในเครื่องของคุณ อาจเข้าถึงข้อมูล GPS ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราอาจจะต้องกดให้เข้าถึงข้อมูลก่อนที่จะทำการกู้สำเร็จเสียอีก ดังนั้น หากในกรณีที่คุณไม่จ่ายเงิน ผู้ทวงหนี้อาจโทรขู่ ประจานคุณ ตามรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ในเครื่องของคุณได้อีก
นั่นอาจทำให้คุณอับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียง และถึงแม้จะมีการไปแจ้งตำรวจเอาไว้ ในบางครั้งก็อาจจะทำอะไรไม่ได้มากนัก นอกจากนี้ด้วยความเป็นหนี้นอกระบบ อัตราดอกเบี้ยจะค่อนข้างโหดมาก ทิ้งไว้เดือนสองเดือน ดอกเบี้ยอาจจะเท่าเงินต้นแล้ว ชำระได้ยากมาก
ทางออก
คุณอาจเคยได้ยินกรณีของการบิดเงินกู้แอพจีน ตาม Facebook, Pantip ก็คือไม่ต้องจ่ายเงินคืน นั่นก็อาจเป็นทางออกหนึ่งที่ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้แนะนำให้มีการแจ้งเบาะแสกับทาง DSI ที่ลิงค์ต่อไปนี้ แจ้งเบาะแสคลิก (ไม่ใช่การแจ้งความ) เพื่อให้ข้อมูลกับทางกองบังคับการปราบปราม กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้เบาะแสเพื่อสืบหากลุ่มผู้ให้กู้ยืมนอกระบบเหล่านี้
หลายๆ ท่านจากที่เราได้สำรวจข้อมูลมา เคยประสบปัญหานี้เช่นกัน ลองอ่านกระทู้นี้จาก Pantip แก้ไขวิธีด้วยการไม่จ่ายคืน บอกคนรอบข้างให้เข้าใจว่าเผลอไปกู้เงินนอกระบบมา ทุกคนน่าจะเข้าใจเพราะเป็นข่าวที่ออกในทีวีหรือโซเชียลอยู่บ่อย ๆ หากสามารถแจ้งความได้ ก็ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบอาจมีเพียงส่วนน้อยที่ตามถึงบ้านจริง ๆ
ลบแอปกู้เงินเถื่อนเหล่านั้นออกจากเครื่อง หากเป็นไปได้ให้เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้, Facebook, LINE หรืออะไรที่ทางมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลได้ไปแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทวงถามซ้ำ ๆ อีก
หรืออีกทางเลือกคือ หากวงเงินกู้ยืมไม่มากนัก ให้หายืมเงินในระบบมาปิดหนี้ไปจะดีกว่า
หรือสุดท้ายลองดูข่าวที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นไอเดียในการแก้ไขปัญหาได้อีกทางครับ